JA Cpanel
  •  

DooHealthy

RSSเว็บไซต์นี้ให้ข้อมูลความรู้และคำปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

โรคถุงลมโป่งพอง

โรคถุงลมโป่งพองอาการ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ในระยะเริ่มแรกมักจะไม่มีอาการ แต่ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้น อาการก็จะแสดงชัดขึ้นตาม

 

ลำดับ โดยอาการสำคัญที่พบบ่อยๆ ได้แก่ หายใจลำบาก หอบ เหนื่อยเพราะขาดออกซิเจน และหายใจมีเสียง 'วี๊ด' ไอมากอยู่ตลอดเวลาอย่างเรื้อรัง มีเสมหะ เป็นหนอง อาจมีเลือดออกร่วมด้วย มีอาการปวดหน้าอก เจ็บเสียวในอก

อาการจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นตามการเสื่อมของถุงลมในปอด ในที่สุดจะมีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ และหัวใจวายตามมา ผู้ป่วยเหล่านี้จะเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม การหายใจล้มเหลวและภาวะหัวใจวาย เป็นต้น

การดำเนินโรคถุงลมโป่งพองมีอยู่ 4 ขั้น ด้วยกัน

ขั้นที่ 1 เริ่มมีการอุดกั้นของหลอดลมเล็กๆ ซึ่งเป็นระยะที่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ และความผิดปกติที่หลอดลมเล็กๆ เหล่านั้น สามารถกลับคืนสู่ปกติได้เมื่อหยุดบุหรี่หรือหยุดปัจจัยเสี่ยงได้

ขั้นที่ 2 มีการอุดกั้นของหลอดลมและความเสื่อมของถุงลมชัดเจน โดยทราบได้จากการตรวจสมรรถภาพของปอด ในขั้นนี้ผู้ป่วยจะมีอาการไอและเหนื่อย แต่ไม่มาก

ขั้นที่ 3 มีอาการไอและเหนื่อยมากขึ้น ผลการตรวจสมรรถภาพปอดเสื่อมลงอีก

ขั้นที่ 4 มีการเสื่อมของหลอดลมและถุงลมมาก การหายใจล้มเหลวและหัวใจวายเกิดขึ้น ระยะนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องพึ่งเครื่องให้ออกซิเจน

สาเหตุ เนื้อปอดถูกทำลาย ถุงลมเล็กๆ ในปอดเกิดความเปราะ จึงแตกรวมกันเป็นถุงลมขนาดใหญ่ที่โป่งพอง ผนังของหลอดลมหนาผิดปกติและบวมทำให้อากาศเข้าไปได้น้อย และเซลล์ของทางเดินหายใจมักจะอักเสบ มีของเหลวและเมือกเกาะอยู่มาก ทำให้อุดกั้นทางเดินหายใจ ทั้งหมดนี้มีอากาศเสียคั่งอยู่ภายในปอด ออกซิเจนต่ำ จึงทำให้หอบเหนื่อย หายใจลำบาก

สาเหตุของถุงลมโป่งพองที่พบบ่อย ได้แก่

  • ผู้ที่เป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
  • การสูบบุหรี่ บางรายหยุดสูบบุหรี่ แต่มีอาการเนื่องจากถุงลมถูกทำลายไปแล้ว
  • การสูดดมสิ่งที่เป็นพิษ เช่น มลภาวะ ไอเสีย ฝุ่น สารเคมี เป็นระยะเวลานานๆ เป็นต้น

 

ถุงลมโป่งพอง

 

การรักษา ต้องรีบพบแพทย์เสียแต่เนิ่นๆ จะมีการซักถามประวัติและตรวจร่างกาย เอกซเรย์ปอด วัดสมรรถภาพการทำงานของปอด วัดระดับออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาใดที่สามารถทำให้ถุงลมโป่งพองหายได้ แต่การใช้ยาจะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และปอดถูกทำลายช้าลง

ยาที่ใช้มี 5 ประเภท คือ

  • ยาลดการอักเสบ
  • ยาขยายหลอดลม
  • ยาละลายเสมหะ
  • ยาฆ่าเชื้อโรค เมื่อมีการติดเชื้อโรคในทางเดินหายใจและปอด
  • การให้ออกซิเจนที่บ้านตามความจำเป็น

การใช้ยาที่เหมาะสมอาจทำให้สมรรถภาพปอดดีขึ้น และอาจมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ถ้ายิ่งมาช้ายิ่งรักษายากขึ้น กลุ่มหลังนี้มักเกิดการติดเชื้อทางระบบหายใจ แล้วเสียชีวิตจากการหายใจล้มเหลว

สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนปอด ควรทำกับผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และยังทำกันน้อย ใช้ได้กับผู้ป่วยที่มีถุงลมปอดโป่งพองเป็นถุงใหญ่ และเนื้อปอดรอบๆ ที่ยังพอทำงานได้ดี ช่วยให้ผู้ป่วยเหนื่อยน้อยลงได้ เพื่อลดปริมาตรปอดที่เสีย อาจทำให้กะบังลมทำงาานได้ดีขึ้น

Julius

นาฬิกาดีไซน์ความหลากหลายให้เข้ากับสไตล์ของคุณ More...

G-SHOCK

ต้นแบบเฉพาะตัวกับตัวเครื่องคุณภาพความทนทาน More...

Edifice

Edifice นาฬิกาลูกผู้ชาย ทรงอิทธิพลด้วยดีไซน์ที่เร้าใจ More...

Consultant



↑ เพิ่มเพื่อนจากทาง Line เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพต่างๆ ได้ที่นี่...

Latest Posts

Map